ชีววิทยาของไส้เดือนดิน(1)

ชีววิทยาของไส้เดือนดิน

สุพาภรณ์  ดาดง

ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

เกี่ยวกับไส้เดือนดิน

-ไส้เดือนดิน

เป็นสัตว์ในไฟลัม แอนเนลิดา (Phylum Annelida) คลาสโอลิโกคีตา ( Class Oligochaeta)  -ลักษณะเด่นของสัตว์ในไฟลัมนี้คือลำตัวเป็นปล้อง(segment) เรียงต่อกัน
ปล้องของไส้เดือนดินแต่ละปล้องมีความกว้างใกล้เคียงกัน -ไส้เดือนดินทั่วโลกมีหลายพันชนิด ส่วนมากอาศัยอยู่บนบกในดินที่ค่อนข้างชื้นและมีอินทรียวัตถุ -ไส้เดือนดินในเมืองไทยที่สามารถพบได้นั้นมีหลายชนิดแต่ชนิดที่ใหญ่และหาง่ายตามดินร่วยซุยชื้นๆ
มักเป็นชนิด  Pheretima peguana และ Pheretima posthuma ซึ่งมีลักษณะต่างๆคล้ายกันมาก -ไส้เดือนดินในยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่เป็นไส้เดือนในวงศ์Lumbricidae ไส้เดือนดินในทวีปอาฟริกาคือไส้เดือนดินวงศ์ Eudrilidae

ลักษณะภายนอก

-รูปร่างทรงกระบอกยาวลำตัวเป็นปล้องเรียงต่อกัน ปล้องทุกปล้องมีเดือยหรือซีตี้เป็นแท่งยื่นออกมาที่ผิวตัว และปล้องแต่ละปล้องมีลักษณะเดียวกัน -รูปร่างสมมาตรแบบซ้ายขวา -มีคิวทิเคิลหุ้มลำตัวเป็นมันวาวทำให้เกิดสีคล้ายสีรุ้ง ผิวตัวเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลาเกิดจากเมือกที่สร้างมาจากต่อมเมือกสร้างเมือกปล่อยออกมาเคลือบผิวตัว  

ส่วนต่างๆของลำตัว

-โพรสโทเมียม
อยู่หน้าสุดของลำตัว เป็นติ่งเนื้อหน้าปากสามารถยืดหดทำหน้าที่คล้ายริมฝีปากบนสำหรับจับอาหารและคุ้ยดิน

-เพอริสโทเมียม
เป็นลำตัวปล้องแรกและจัดเป็นปล้องที่แท้จริง กึ่งกลางปล้องมีช่องปาก

-ไพจิเดียม
เป็นส่วนสุดท้ายของลำตัว ซึ่งเป็นที่เปิดของทวารหนัก และไม่ถือว่าเป็นปล้องเช่นเดียวกับโพรสโทเมียม มีหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เป็นกากอาหารออกจากร่างกาย

-ปล้องลำตัวแต่ละปล้องมีเดือยหรือซีตี้ (setae) เล็กๆ อยู่รอบทุกปล้อง จำนวนและการจัดเรียงตัวขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน

-อวัยวะสำคัญที่เกี่ยวกับการกินอาหารและการสืบพันธุ์ตั้งอยู่บริเวณปล้องตอนหน้า -ปล้องบางปล้องหนาขึ้นเป็นปลอกเนื้อเรียกว่าไคลเทลลัม (clitellum) เห็นได้ชัดเจนในตัวที่เจริญพันธุ์ ตำแหน่งของไคลเทลลัมแตกต่างกันในแต่ละชนิด


 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2