จิ๋วแต่แจ๋ว มะเขือพวง มากคุณประโยชน์
  • 13 กันยายน 2018 at 13:29
  • 943
  • 0

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

มะเขือพวง มักถูกนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งน้ำพริกกะปิ แกงป่า แกงเขียวหวาน ผัดฉ่า ผัดเผ็ด พะแนง และอีกมากมาย ใน “มะเขือพวง” มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด อีกทั้งยังมีประโยชน์มากมายมหาศาล

 


ประโยชน์ของมะเขือพวง

- ในมะเขือพวงมีสารโซลาโซดีน (Solasodine) สามารถช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้

- มะเขือพวง มีสารทอร์โวไซด์ เอ, เอช (Torvoside A, H) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (Herpes simplex virus type 1) โดยมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไวรัสได้มากกว่าอะไซโคลเวียร์ถึง 3 เท่า

- มะเขือพวง มีสารทอร์โวนินบี (Torvonin B) ซึ่งเป็นซาโพนินชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการขับเสมหะ

- มะเขือพวงมีสารเพกติน (Pectin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่ อีกทั้งสารเพกตินในมะเขือพวงยังมีคุณสมบัติช่วยดูดซับไขมันส่วนเกิน และอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

- สารสกัดจากมะเขือพวงมีผลยับยั้ง Platelet activating factor (PAF) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด 

ช่วยบำรุงไต ช่วยป้องกันและรักษาอาการเป็นพิษต่อไตที่เกิดจากยาคีโมที่ใช้รักษามะเร็งได้

- มะเขือพวงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยา แอลกอฮอล์ และความเครียด

- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันความเสื่อมและช่วยชะลอความแก่

- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง

 


ข้อมูลงานวิจัย

1. มะเขือพวงกับการบำรุงไต
มีงานวิจัยในอินเดียในปี 2545 พบว่าสารสกัดมะเขือพวงเมื่อให้ก่อนรับยามีความสามารถป้องกันและรักษาอาการพิษต่อไตที่เกิดจากยาคีโมรักษามะเร็งได้ โดยจากการศึกษานี้จึงสนับสนุนการใช้มะเขือพวงในการบำรุงไตของหลายประเทศ

2. มะเขือพวงกับโรคเบาหวาน

มีงานวิจัยที่ศึกษาปฏิกิริยาต้านอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มจากมะเขือพวงแห้ง พบว่าน้ำสมุนไพรมะเขือพวงสามารถลดระดับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ หรืออนุมูลอิสระไนทริกออกไซด์ในเลือดหนูที่เป็นเบาหวานได้ นอกจากนี้ พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานลดลงด้วย

3. มะเขือพวงกับโรคความดันโลหิตสูง และปัญหาเกล็ดเลือด

งานวิจัยที่ประเทศแคเมอรูนพบว่า เมื่อให้สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของผลมะเขือพวงกับหนูทดลอง พบว่าความดันโลหิตของหนูต่ำลง และลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วย 

4. มะเขือพวงรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

กลุ่มวิจัยในแคเมอรูนในปี 2551 พบว่า สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ยา และความเครียด ส่วนที่ให้ผลดังกล่าวเพราะมีองค์ประกอบเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และไทรเทอร์พีน ซึ่งผลวิจัยนี้สนับสนุนการใช้งานใบมะเขือพวงของแพทย์พื้นบ้านในประเทศแคเมอรูน

5. มะเขือพวงต้านอนุมูลอิสระ
งานวิจัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิก รวมสารสกัดแอลกอฮอล์ของผลมะเขือตากแห้งแช่แข็ง 11 ชนิดในประเทศไทยในปี 2551  พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์จากผลมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดจากบรรดามะเขือทุกชนิด

6.มะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านอักเสบ 

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาในปี 2552 พบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์จากมะเขือพวงมีฤทธิ์ต้านการผลิตไนตริกออกไซด์ และ TNF-? ในเซลล์มิวรีนมาโครฟาจที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพโพลีแซกคาไรด์ของแบคทีเรียในภาชนะเพาะเลี้ยง จึงมีฤทธิ์ต้านอักเสบ

นอกจากนี้ งานวิจัยจากสถาบันวิจัยป่าไม้ประเทศมาเลเซียพบว่า สารสกัดผลมะเขือพวงมีผลยับยั้ง platelet activating factor (PAF) ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหอบหืด การอักเสบเฉียบพลัน ภูมิแพ้และภาวะเลือดแข็งตัวอีกด้วย

หมายเหตุ  ในมะเขือพวงมีสารโซลานีน (Solanine) ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ ผู้ที่เป็นโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพราะสารนี้อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกายได้

ข้อมูลประกอบ :
www.doctor.or.th (หมอชาวบ้าน)
medthai.com

 

 

 

#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox, #victorinox มือสอง,#มีดเดินป่า ตราจรเข้,#Ralph Martindale,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดภาวะวิกฤต

 

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2